เมนู

มหายัญญวรรคที่ 5


อรรถกถาจิตตสูตรที่ 1


วรรคที่ 5 สูตรที่ 1

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า วิญฺญาณฏฺฐิติโย ได้แก่ ที่ตั้งแห่งปฏิสนธิวิญญาณ.
ศัพท์ว่า เสยฺยถาปิ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่าเป็นตัวอย่าง. อธิบายว่า
มนุษย์ทั้งหลาย. จริงอยู่ บรรดามนุษย์ทั้งหลาย หาประมาณมิได้
ในจักรวาฬหาประมาณมิได้ แม้ 2 คน จะชื่อว่า เหมือนมนุษย์คน
เดียวกันด้วยอำนาจสีและทรวดทรงเป็นอันหามีไม่. แม้มนุษย์
เหล่าใด เป็นพี่น้องฝาแฝดในที่ไหน ๆ ย่อมเหมือนกันโดยสีและ
ทรวดทรง แม้มนุษย์เหล่านั้นแปลกกันตรงที่แลดู เหลียวดู พูดหัวเราะ
เดิน และยืนเป็นต้น นั่นแล. เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า นานตฺตกายา
มีกายต่างกัน. ก็ปฏิสนธิสัญญา ของสัตว์เหล่านั้น เป็นติเหตุกะก็มี
เป็นทุเหตุกะก็มี เป็นอเหตุกะก็มี เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า
นานตฺตสญฺญิโน มีสัญญาต่างกัน. บทว่า เอกจฺเจ จ เทวา ได้แก่
เทวดาชั้นกามาวจร 6 ชั้น. จริงอยู่ บรรดาเทวดาชั้นกามาวจร 6
ชั้นนั้น เทวดาบางพวกมีกายเขียว บางพวกมีกายเหลืองเป็นต้น
ส่วนสัญญาของเทวดาเหล่านั้น เป็นทุเหตุกะก็มี เป็นติเหตุกะก็มี
ที่เป็นอเหตุกะไม่มี บทว่า เอกจฺเจ จ วินิปาติกา ความว่า สัตว์ผู้พัน
จากอบาย 4 มีอาทิอย่างนี้คือ อุตตรมาตายักขิณี ปิยังกรมาตายักขิณี
ผุสสมิตตายักขิณี ธัมมคุตตายักขิณี และเวมาณิกเปรต เหล่าอื่น. ก็
สัตว์เหล่านั้นมีกายต่างกันโดยผิวมี ผิวเหลือง ผิวขาว ผิวดำ และผิวคล้ำ

เป็นต้น และโดยผอมอ้วนเตี้ยและสูง. แม้สัญญาก็ต่างกัน โดยเป็น
ทุเหตุกะติเหตุกะ และอเหตุกะ แต่สัตว์เหล่านั้น ไม่มีอำนาจมากเหมือน
เทวดา มีอำนาจน้อย มีอาหารและเรื่องนุ่งห่มหายาก อยู่เป็นทุกข์
เหมือนมนุษย์ยากไร้ บางพวกต้องทุกข์เวลาข้างแรม มีสุขเวลาข้างขึ้น
เพราะฉะนั้นจึงตรัสว่า วินิปาติกา เพราะตกไปจากกองสุข ส่วน
บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดเป็นติเหตุกะ สัตว์เหล่านั้น ตรัสรู้
ธรรมก็มีเหมือนปิยังกรมาตายักขิณีเป็นต้น.
บทว่า พฺรหฺมกายิกา ได้แก่พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา
มหาพรหมา
บทว่า ปฐมาภินิพฺพตฺตา ได้แก่ สัตว์เหล่านั้นแม้ทั้งหมด
บังเกิดด้วยปฐมฌาน. ส่วนพรหมปาริสัชชา บังเกิดด้วยปฐมฌาน
อย่างอ่อน พรหมปาริสัชชาเหล่านั้นมีอายุประมาณเท่ากับส่วนที่ 3
แห่งกัป พรหมปุโรหิตาบังเกิดด้วยปฐมฌานปานกลาง มีอายุประมาณ
กึ่งกัป พรหมเหล่านั้นจึงมีกายกว้างกว่ากัน มหาพรหมาบังเกิดด้วย
ปฐมฌานอย่างประณีต มีอายุประมาณกัปหนึ่ง แต่มหาพรหมาเหล่านั้น
มีกายกว้างอย่างยิ่ง ดังนั้น พรหมเหล่านั้น พึงทราบว่า นานตฺตกายา
เอกตฺตสญฺญิโน
เพราะมีกายต่างกัน มีสัญญาเป็นอันเดียวกัน ด้วย
อำนาจปฐมฌาน. สัตว์ในอบาย 4 ก็เหมือนกับพรหมเหล่านั้น.
จริงอยู่ ในนรกทั้งหลาย สัตว์บางพวกนีอัตภาพ คาวุตหนึ่ง บางพวก
กึ่งโยชน์ บางพวกโยชน์หนึ่ง แต่ของพระเทวทัต 100 โยชน์. แม้ใน
บรรดาสัตว์ดิรัจฉาน บางพวกเล็ก บางพวกใหญ่ แม้ในปิตติวิสัย
บางพวก 60 ศอก บางพวก 80 ศอก บางพวกมีพรรณดี บางพวก

มีพรรณทราม. พวกกาลกัญชกอสูรก็เหมือนกัน. อีกอย่างหนึ่ง
ในพวกอสูรเหล่านั้น ชื่อว่า ทีฆปิฏฐิกอสูร 60 โยชน์ ก็สัญญา
ของอสูรแม้ทั้งหมด เป็นอกุศลวิบากอเหตุกะ. ดังนี้ สัตว์ผู้เกิด
ในอบาย ย่อมนับว่ามีกายต่างกัน มีสัญญาเป็นอันเดียวกัน.
บทว่า อาภสฺสรา ความว่า พรหมชื่อว่า อาภัสสรา เพราะ
พรหมเหล่านี้มีรัศมีซ่านออก คือแผ่ออกไปจากสรีระดุจขาดตกลง
เหมือนเปลวไฟแห่งคบไฟฉะนั้น บรรดาอาภัสสรพรหมเหล่านั้น
พรหมผู้เจริญทุติยฌานและตติยฌานทั้ง 2 อย่างอ่อน ในปัญจกนัย
เกิดขึ้น ชื่อว่า ปริตตาภาพรหม. ปริตตาภาพรหมเหล่านั้น มีอายุ
ประมาณ 2 กัป ที่เจริญทุติยฌาน ตติยฌานอย่างกลางเกิดขึ้น
ชื่อว่า อัปปมาณาภาพรหม อัปปมาณาภาพรหมเหล่านั้น มีอายุ
ประมาณ 4 กัป ที่เจริญทุติยฌาน ตติยฌานอย่างประณีตเกิดขึ้น
ชื่อว่าอาภัสราพรหม. อาภัสราพรหมเหล่านั้น มีอายุประมาณ 8 กัป
ในที่นี้ทรงถือเอาพรหมเหล่านั้นทั้งหมด โดยการกำหนดอย่างอุกฤษฏ์
ความจริง พรหมเหล่านั้นทั้งหมดมีกายกว้างเป็นอันเดียวกัน ส่วน
สัญญาต่าง ๆ กัน ไม่มีวิตกเพียงมีวิจารบ้าง ไม่มีวิตกวิจารบ้าง.
บทว่า สุภกิณฺหา ความว่า พรหมทั้งหลายมีรัศมีจากสรีระ
ระยิบระยับด้วยความงาม รัศมีแห่งสรีระโดยความงาม อธิบายว่า
เป็นแท่งทึบโดยความงาม. จริงอยู่ สุภกิณหาพรหม พรหมเหล่านั้น
รัศมีไม่ขาดไปเหมือนของอาภัสราพรหม. แต่ในปัญจนัย เหล่า
พรหมณ์ที่บังเกิดชื่อว่า ปริตตสุภาพรหม อัปปมาณาสุภาพพรหม

และสุภกิณหพรหม มีอายุ 16 กัป 23 กัป 64 กัป ด้วย
อำนาจจตุตถฌานอย่างอ่อน อย่างกลาง มีกายเป็นอย่างเดียวกัน และ
พรหมเหล่านั้นทั้งหมด พึงทราบว่า มีกายเป็นอย่างเดียวกัน และ
มีสัญญาเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยสัญญาในจตตุถฌาน
ฝ่ายเวหัปผลาพรหม ก็ย่อมเทียบวิญญาณฐิติ ที่ 4 เท่านั้น
เหล่าอสัญญีสัตว์ หรือวิญญาณาภาพรหม ย่อมไม่สงเคราะห์เข้า
ในข้อนี้ แต่ไปในสัตตวาสทั้งหลาย. สุทธาวาสพรหม ตั้งอยู่ในฝ่าย
วิวัฏฏะ. ย่อมไม่มีตลอดกาลทุกเมื่อ คือไม่เกิดขึ้นในโลก ที่ว่างจาก
พระพุทธเจ้า ตลอดแสนกัปบ้าง อสงไขยหนึ่งบ้าง. เมื่อพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ทรงอุบัติขึ้นแล้วนั่นแล ย่อมเกิดขึ้นในภายในเขตกำหนด
อายุ 16,000 กัป ย่อมเป็นเสมือนค่ายพักของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้เป็นพระธรรมจักรพรรดิ์ เพราะเหตุนั้น จึงไม่เทียบวิญญาณฐิติ
และสัตตาวาส. ส่วนพระมหาสิวเถระ กล่าวว่า แม้พรหมชั้นสุทธาวาส
ก็ย่อมเทียบวิญญาณฐิติที่ 4 และสัตตาวาสที่ 4 โดยสูตรนี้ว่า
ดูก่อนสารีบุตร ก็สัตตวาส ไม่ใช่โอกาสที่จะได้โดยง่ายแล
สัตตาวาสนั้นเราไม่เคยอยู่ โดยกาลอันยืดยาวนานนี้ เว้นเทวดา
เหล่าสุทธาวาส. คำนั้น ท่านอนุญาตไว้แล้ว เพราะไม่มีพระสูตร
ห้ามไว้. เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ชื่อว่า มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี
สัญญาก็มิใช่ เพราะแม้วิญญาณ เป็นของละเอียดเหมือนสัญญา
ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ท่านจึงกล่าว
ไว้ในวิญญาณฐิติ ทั้งหลาย.
จบ อรรถกถาจิตตสูตรที่ 1

2. ปริกขารสูตร


[42] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย องค์แห่งสมาธิ 7 ประการนี้
7 ประการเป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ 1 สัมมาสังกัปปะ 1 สัมมาวาจา 1
สัมมากัมมันตะ 1 สัมมาอาชีวะ 1 สัมมาวายามะ 1 สัมมาสติ 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เอกัคคตาจิตประกอบด้วยองค์ 7 ประการนี้
เรียกว่าอริยสมาธิ ที่เป็นไปกับด้วยอุปนิสัยก็มี มีเป็นไปกับด้วย
บริขารก็มี
จบ ปริกขารสูตรที่ 2

อรรถกถาปริกขารสูตรที่ 2


ปริกขารสูตรที่ 2

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สมาธิปริกฺขารา ได้แก่ องค์ประกอบแห่งสมาธิ
อันสัมปยุตด้วยมรรค.
จบ อรถกถาปริกขารสูตรที่ 2